ประเภทของพื้นโรงงานอุตสาหกรรมที่ควรรู้

ทำความรู้จักพื้นโรงงานอุตสาหกรรม 3 ประเภทให้ดียิ่งขึ้นก่อนเลือกใช้งาน!

พื้นโรงงานอุตสาหกรรม

 

เคยสงสัยกันบ้างหรือไม่ว่า เพราะเหตุใดเวลาเราสร้างบ้าน สร้างอาคาร หรือสร้างโรงงาน เรามักจะต้องทำการปูพื้นต่าง ๆ ทับพื้นดินดั้งเดิมกันอยู่เสมอ ซึ่งถ้าเราลองค้นหาคำตอบกันดูด้วยตัวเอง ก็จะได้ความประมาณว่า การปูพื้นทับหน้าดินจะช่วยให้พื้นไม่เกิดการยุบตัว ทนทาน และไม่เลอะเทอะสกปรกเมื่อเกิดฝนตกหรือน้ำท่วม อีกทั้งยังดูสวยงามมากขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม การจะปูพื้นทับหน้าดินทั้งที ย่อมต้องมีอีกหลายปัจจัยให้ต้องพิจารณา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการวางโครงสร้าง วัสดุที่ใช้ รวมถึงสีที่ใช้ทาเคลือบทับหน้าพื้นปูนด้วย โดยเฉพาะพื้นโรงงานอุตสาหกรรมที่จำเป็นต้องใส่ใจสูงมาก ๆ เพราะสถานที่นี้จำเป็นต้องทนรับน้ำหนักจากเครื่องจักรที่ทำงานตลอดเวลา ทนรับน้ำหนักจากการเคลื่อนย้ายวัสดุต่าง ๆ รวมถึงรับน้ำหนักจากรถต่างๆ ด้วย ดังนั้นเพื่อช่วยให้ทุกคนรู้จักกับประเภทของพื้นที่เหมาะกับการใช้สร้างพื้นโรงงานอุตสาหกรรมให้มากขึ้น วันนี้เราเลยอยากจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับพื้นโรงงานอุตสาหกรรม 3 ประเภทว่าคืออะไร และมีอะไรที่ควรรู้เกี่ยวกับพื้นประเภทนี้บ้าง เพื่อช่วยให้ทุกคนรู้จักกับ


ประเภทของพื้นโรงงาน

  1. พื้นโรงงานอุตสาหกรรม ‘คอนกรีตเสริมแกร่ง’
    พื้นโรงงานอุตสาหกรรมแบบแรกสุด ก็คือ ‘พื้นคอนกรีตเคลือบสารเสริมแข็ง’ นั่นเอง โดยพื้นแบบนี้ถือว่าเป็นตัวเลือกที่ค่อนข้างมาตรฐานและใช้งานกันมาอย่างยาวนาน และไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในวงการของโรงงานอุตสาหกรรมเท่านั้น แต่รวมไปถึงสถานที่ทั่วไปด้วย อย่างไรก็ตามด้วยความที่เทคนิคการสร้างพื้นประเภทนี้ได้รับการยอมรับในวงกว้าง จึงสามารถเชื่อมั่นในเรื่องของความทนทานได้เป็นอย่างดี โดยคุณสมบัติของคอนกรีตประเภทนี้จะช่วยให้ผิวของคอนกรีตเชื่อมต่อกัน กันลื่น มีความทนทานสูง แข็งแกร่ง รับน้ำหนักได้มาก มีพื้นผิวที่มันเงามากขึ้น ลดปัญหาของเหลวรั่วซึมลงไปยังชั้นดิน และช่วยลดการสึกกร่อนได้เป็นอย่างดี สำหรับการ เคลือบ พื้น โรงงานที่เป็นคอนกรีตด้วยสารเคมีเสริมแข็งจะทำสองขั้นตอน คือการโรยด้วยแบบผง หลังจากเทคอนกรีตแล้ว 2 -3 ชั่วโมง และเคลือบด้วยแบบน้ำหลังจากแข็งตัวแล้ว

  2. พื้นโรงงานอุตสาหกรรม ‘Epoxy’
    พื้นโรงงานอุตสาหกรรมแบบต่อมาที่เราควรรู้จัก ก็คือ ‘พื้น epoxy’ โดย ‘epoxy’นั้นเป็นชื่อเรียกของสารสังเคราะห์ประเภทหนึ่งมาผสมเข้ากับสารอินทรีย์ที่ชื่อว่าโพลีเอมีน (Polyamine) ที่ได้รับความนิยมในฐานะส่วนผสมสำคัญของอุตสาหกรรมเคมีหลายประเภท โดยหลังจากผสมสารทั้งสองชนิดจนรวมเป็นเนื้อเดียวกันแล้ว ก็จะได้สีเคลือบผิวเนื้อมันเงาหลากหลายสีสัน ที่สามารถนำมาทาเคลือบผิวพื้นปูนได้
    สำหรับคุณสมบัติหลังจากเคลือบ พื้น epoxy ในโรงงานอุตสาหกรรมนั้น จะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับพื้นมากขึ้น รวมถึงความแข็งแรงทนทาน จนสามารถรองรับแรงกระแทกจากน้ำหนักของรถต่าง ๆ ได้แบบสบาย ๆ ไม่พังง่าย อีกทั้งตัวสียังสามารถช่วยปกปิดรอยร้าวเล็ก ๆ บนพื้นปูนได้อีกด้วย และที่สำคัญคือสามารถทนทานต่อการกัดกร่อนจากสารเคมีที่มีฤทธิ์เป็นกรดและด่างได้ด้วย ดังนั้นนอกเหนือจากการเคลือบ พื้น โรงงานแล้ว เรายังสามารถสร้างพื้นประเภทนี้ในห้างสรรพสินค้า ลานจอดรถ และโรงพยาบาลได้อีกด้วย

ประเภทของพื้นอีพ็อกซี่

สำหรับประเภทของพื้นอีพ็อกซี่นั้นจะสามารถแบ่งออกได้เป็นสองประเภทหลัก ๆ ซึ่งจะแตกต่างกันในเรื่องของวิธีการเคลือบและคุณสมบัติของสีที่เราจะได้ โดยแต่ละประเภทมีรายละเอียดดังนี้

  1. พื้น Epoxy Coating
    การเคลือบ พื้น epoxy เป็นการเคลือบสีที่มีความหนาไม่มาก ประมาณ 300 – 450 ไมครอนเท่านั้น ประกอบไปด้วยการเคลือบแบบผสมน้ำ จะได้เนื้อผิวที่คล้ายเปลือกส้ม ไม่มีกลิ่นฉุน สามารถป้องกันฝุ่นในชั้นคอนกรีตได้ แต่ไม่ทนรอยขีดข่วน และการเคลือบแบบผสมทินเนอร์ จะมีเนื้อผิวคล้ายเปลือกส้ม และสามารถป้องกันฝุ่นในชั้นคอนกรีตได้เช่นกัน แต่จะสามารถทนทานต่อรอยขีดข่วนได้มากกว่า ทว่าไม่ควรใช้ทาบนพื้นที่ต้องรับน้ำหนักมาก ๆ อยู่ดี

  2. พื้น Epoxy Self - Leveling
    การเคลือบพื้น Epoxy แบบ Self – Leveling จะมีความหนามากกว่าแบบ Coating อยู่หลายส่วน โดยมีความหนาเริ่มต้นที่ 2 มิลลิเมตรขึ้นไป ความพิเศษของพื้นประเภทนี้ คือสามารถปรับระดับเองได้ และทนทานกว่าการเคลือบแบบอื่น จึงสามารถรับแรงกดทับได้มากขึ้นตามไปด้วย นอกจากนี้ยังโดดเด่นในเรื่องสีสันและความสวยงามด้วย อย่างไรก็ตามการจะใช้พื้นประเภทนี้จำเป็นต้องใช้ช่างที่มีความชำนาญการ เพราะติดตั้งได้ยากและพลาดได้ง่ายกว่าแบบอื่น

  3. พื้นโรงงานอุตสาหกรรม ‘PU’
    PU หรือ ‘โพลียูรีเทน’ เป็นสารพอลิเมอร์ชนิดหนึ่ง เมื่อนำมาเคลือบ พื้น โรงงานจึงมีความทนทานและยืดหยุ่นสูงกว่าพื้นผิวแบบอื่นเป็นอย่างมาก จึงช่วยปกป้องผิวคอนกรีตจากการรั่วซึมของน้ำ หรือสารเคมีต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังทนต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิได้ และรองรับแรงกระแทกได้ด้วย โดยเฉพาะพื้นห้องเย็นที่ใช้แช่สินค้า หรือไลน์การผลิตที่ต้องรับมือกับอุณหภูมิสูง และที่สำคัญการ เคลือบ พื้น pu ยังช่วยป้องกันคราบสกปรกได้ มีความสวยงาม และทำความสะอาดได้ง่ายมาก ๆ ด้วย โดยพื้นประเภทนี้จะมีให้เลือกทั้งหมด 3 ประเภท ได้แก่ พื้นพียูแบบบาง (หนา 2 มิลลิเมตร), พื้นพียูแบบปานกลาง (หนา 3-4 มิลลิเมตร) และพื้นพียูแบบหนามาก (หนา 5-10 มิลลิเมตร) ซึ่งยิ่งหนามากเท่าไรก็ยิ่งแข็งแรงทนทานและคุณภาพดีมากเท่านั้น

เป็นอย่างไรกันบ้างกับพื้นโรงงานอุตสาหกรรม 3 ประเภทที่เรานำมาแนะนำให้ได้รู้จักกันในวันนี้ สำหรับใครที่อ่านจบแล้วและกำลังมองหาบริษัทที่จะทำการเคลือบพื้นโรงงานคุณภาพดี Parncharoen ของพวกเราก็พร้อมให้บริการทุกท่านตลอดเวลา รับประกันคุณภาพด้วยทีมช่างมืออาชีพ

สนใจบริการออกแบบ พื้นโรงงานอุตสาหกรรม ติดต่อ
ห้างหุ้นส่วนจำกัด พ.พานเจริญ เทรดดิ้ง, บริษัท เอ็นเค ฟลอร์ อินโนเวชั่น จำกัด
521/370 ถนนหทัยราษฎร์ แขวงสามวาตะวันตก เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร 10510
โทร : 091-779-9214 
LINE : 
https://line.me/ti/p/~@epoxy-nk

Visitors: 428,802